HMC

Wat Pitulathirat Rangsarit

Buddhist temple in Bang Sao Thong

Updated: March 20, 2024 12:50 AM

Wat Pitulathirat Rangsarit is located in Bang Sao Thong (Municipality in Thailand), Thailand. It's address is 156 Maruphong Rd, Na Mueang, Mueang Chachoengsao District, Chachoengsao 24000, Thailand.

156 Maruphong Rd, Na Mueang, Mueang Chachoengsao District, Chachoengsao 24000, Thailand

M3QF+QH Na Mueang, Mueang Chachoengsao District, Chachoengsao, Thailand

+66 38 515 142

facebook.com

Check Time Table for Wat Pitulathirat Rangsarit


Monday6 AM to 9 PM
Tuesday6 AM to 9 PM
Wednesday6 AM to 9 PM
Thursday6 AM to 9 PM
Friday6 AM to 9 PM
Saturday6 AM to 9 PM
Sunday6 AM to 9 PM

Questions & Answers


Where is Wat Pitulathirat Rangsarit?

Wat Pitulathirat Rangsarit is located at: 156 Maruphong Rd, Na Mueang, Mueang Chachoengsao District, Chachoengsao 24000, Thailand.

What is the phone number of Wat Pitulathirat Rangsarit?

You can try to calling this number: +66 38 515 142

What are the coordinates of Wat Pitulathirat Rangsarit?

Coordinates: 13.6893903, 101.0739652

Wat Pitulathirat Rangsarit Reviews

Jeng Hwangwittayarat
2024-01-04 09:46:29 GMT

ช่วงเย็นมีก๋วยเตี๋ยวและขนมจีนรสชาติดีขายที่หน้าวัด

Rattanasitthi Supapon
2024-02-25 19:54:25 GMT

สมคำร้ำลือ และตำนาน แต่ คูณ 10 นะ

Mong Kaew
2018-11-28 11:14:23 GMT

วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ หรือวัดเมือง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางปะกงฝั่งตะวันตก เลขที่ ๑๕๖ ถนนมรุพงษ์ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โดยโปรดให้ เจ้าพระยายมราช เจ้าพระยามหาโยธา หาที่จะสร้างเมืองฉะเชิงเทราใหม่ และโปรดให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไกรสร กรมหลวงรักษ์รณเรศ (หม่อมไกรสร) ซึ่งเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๓๓ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ เป็นแม่กองทำการสร้างกำแพงเมืองฉะเชิงเทรา และพระองค์ได้สร้างวัดหนึ่งด้วย ดังในพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แสดงไว้ว่า

"...แล้วโปรดให้กรมหลวงรักษรณเรศออกไปสร้างป้อมกำแพงที่เมืองฉเชิงเทราอีกตำบล ๑ โปรดให้สร้างวัดไว้ในกลางเมือง ซึ่งพระราชทานนามในบัดนี้ว่า วัดปิตุลาธิราชรังสฤษดิ..."

เดิมทีวัดเมืองตั้งอยู่ตรงอยู่ที่กลางเมืองฉะเชิงเทรา แต่ เมื่อเกิดกบฏอั้งยี่ขึ้นในปี พ.ศ.๒๓๙๑ ทำให้วัดเมืองถูกเผาทำลาย ภายหลังการกบฏแล้ว ราวปี พ.ศ.๒๔๒๗ พระยาวิเศษฤๅไชย(ช้าง) ได้ทำการย้ายวัดออกมาสร้างใหม่ในสถานที่ตั้งปัจจุบัน (จึงเป็นหลักฐานที่สำคัญว่าแท่นประหารอั้งยี่ที่วัดนี้ไม่ใช่เรื่องจริง) ปรากฏหลักฐานในบันทึกของ เซอร์ เออร์เนสต์ เมสัน ซาโตว (Sir Ernest Mason Satow) อัครราชทูตอังกฤษ ประจำกรุงสยาม เมื่อคราวตรวจพื้นที่ เมืองต่างๆในแม่น้ำบางปะกง ว่า

"...เจ้าเมืองปล่อยเรื่องหยุมหยิมในการบริหารปกครองอยู่ในอำนาจของน้องชาย ผู้ซึ่งเป็นปลัดและอายุได้ ๗๕ ปีแล้ว ท่านสนใจแต่เพียงการเตรียมตนสำหรับโลกหน้าโดยการสร้างวัดแห่งหนึ่ง..."

เมื่อสร้างวัดเสร็จแล้ว ในระยะแรกยังเรียกชื่อวัดว่า วัดท้ายเมือง เนื่องจากสร้างในพื้นที่ท้ายเมืองฉะเชิงเทรา และได้รับพระราชทานนามวัดใหม่ จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฏ์” อันเป็นการเฉลิมพระเกียรติให้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวาระฉลองพระชนมายุครบรอบ ๑๐๐ พรรษา ในปีพ.ศ.๒๔๓๐ และวัดนี้ได้ใช้เป็นที่พระราชทานเพลิงศพพระยาวิเศษฤๅไชย(ช้าง) เจ้าเมืองฉะเชิงเทราในปีเดียวกันนั้นเอง ในเวลานั้นวัดน่าจะมีแค่ พระอุโบสถเพียงอย่างเดียว ส่วนพระวิหารน่าจะสร้างขึ้นในสมัยหลัง ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่าการที่ต้องสร้างพระวิหารขึ้นมานั้นอาจจะใช้เป็นที่จัดพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาแทนการใช้ที่อุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหาร[3]

พุทธาวาสของวัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ มีพระอุโบสถและพระวิหารล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว ประกอบด้วยพระปรางค์หลายองค์ที่บริเวณมุมของกำแพงแก้วปัจจุบันได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์จนอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์

วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ มีชื่ออยู่ในทะเบียนวัดของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และมีสภาพเป็นวัดตามมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมแห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ ว่า ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๕ และได้รับวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๕ ซึ่งมีเจ้าคณะปกครองฝ่ายสงฆ์ได้ปกครองดูแลตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

Noey Wirat
2019-09-17 21:24:50 GMT

วัดเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของ จ.ฉะเชิงเทรา วัดที่มีเรื่องเล่าขานของความดุของวิญญาณอั่งยี่ผีหัวขาด ที่ถูกประหารชีวิตนับร้อย นอกจากนี้เเล้วความสวยงามของโบสถ์ และวิหารเก่าแก่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น รูปทรงที่แตกต่างจากศิลปะปัจจุบัน เมื่อไปยืนชมความงาม ความรู้สึกเหมือนกับได้ย้อนกลับไปช่วงเวลานั้น อีกทั้งต้นจันทร์อายุ 180 ปี ที่ยืนต้นเคียงข้างโบสถ์ ก็ดูมีสเน่ห์เหลือเกิน มีเวลามีโอกาสไปสักการะ และแวะชมความงามดูครับ แล้วลองหาอ่านประวัติคร่าวๆนะครับ

Sivakorn Chuenrit
2022-07-26 05:57:54 GMT

เป็นวัดโบราณเก่าแก่ที่ถือว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอีกแห่งของจังหวัดฉะเชิงเทรา มีต้นจันอายุ170ปีที่ยังได้รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดีและทางกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเรียบร้อยแล้วครับ

Thiti Suriyorattananophas
2018-08-17 17:07:05 GMT

วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์คนแปดริ้ว(ฉะเชิงเทรา)เรียกว่าวัดเมืองบูรณะซ่อมแซมใหม่ทำให้วัดดูสวยงามและสะอาดมากขึ้นถ่ายรูปสวยมากภาพในวัดจะมีต้นอินจัน

Jow Nu
2019-03-12 07:01:34 GMT

วัดเก่าแก่คู่จังหวัดฉะเชิงเทรามานาน มีประวัติที่น่าสนใจ วัดมีการบูรณะปฏิสังขรใหม่ เหมาะแก่การมาเที่ยวถ่ายภาพ

Reggie Zane
2021-08-27 23:41:35 GMT

วัดสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งเคยเป็นลานประหารอั่งยี่

Nuch-Cha Natnapatch
2020-01-13 02:35:05 GMT

วัดเก่าแก่ สวยงาม สะอาด การจัดการดี

รัตนา ฉายาวาศ
2019-07-03 20:15:04 GMT

หรือ​วัด​เมือง​ ตั้งอยู่บนถนนมรุพงษ์​ วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่สร้างขึ้นเมื่อ​ สมัยต้น​ กรุงรัตนโกสินทร์​ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อพศ. 2377 วัดนี้​ สร้างขึ้นพร้อมกับกำแพงเมืองฉะเชิงเทรา​ วันนี้ถือเป็นโบราณสถานที่สำคัญ​ อีกแห่งหนึ่ง​ วัดเมือง​ ในปี พศ.2391 พระยาวิเศษลือชัย​ ซึ่งเป็นเจ้าเมืองในขณะนั้นได้มีการก่อกบฏขึ้น​ เรียกตัวเองว่าอ้างยี่​ ตอนมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ได้ให้​ สมเด็จ​พญาบรม​ มหาประยูรวงศ์​ ยกพลจากสมุทรปราการมาปราบกบฏ​ แต่สุดท้ายก็พ่ายแพ้กับอั้งยี่​ และถูกฆ่าตายกว่า 3,000 คน​ ต่อมาได้มีการจับกุมและประหารชีวิตพวกอั้งยี่​ โดยสถานที่​ ณเวลานั้น​ คือบริเวณโคนต้นจัน​ใหญ่ของวัดเมือง​ จะมีหลักประหารเก่า ต้นจันทร์​วัดเมืองหลังจากเสร็จศึกเหตุการณ์นองเลือด​ทหารและอังยี่แล้วก็กลายเป็นวัดร้าง​ สภาพชำรุดทรุดโทรม​ และยังไม่ทันได้บูรณะวัดเมือง​ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ก็มาเสด็จสวรรคตเสียก่อน​ ต่อมา​ ในพ.ศ 2451 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จประพาสเมืองฉะเชิงเทราและบูรณะวัดเมือง​ขึ้นมา พระองค์ได้สถาปนาชื่อ​วัดขึ้น​ใหม่ ว่า​วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์​ แต่เรื่องราวของผีอังยี่ก็ยังมีต่อเนื่อง​ จนสมาคมจีนในจังหวัดฉะเชิงเทรา​ ต้องทำพิธีล้างป่าช้าถึงสองครั้ง​ ได้ขุดเอาเสาหลักประหารขึ้นมาจากดิน​ โดยเทปูนปิดทับหลักประหาร​ หลังจากนั้นความเฮี้ยนก็ค่อยๆหมดไป​ สำหรับต้นจัน​ที่เคย​ เป็นจุดหลักประหาร​นี้​ ปัจจุบันก็ยังคงอยู่​ โดยเชื่อกันว่าที่ตรงนี้เป็นที่ประหารชีวิตคน​ ​และ​ ด้านหลังต้นจัน​ เป็นพระวิหาร​ พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย​ พระปาง 4 องค์ล้อมรอบพระวิหาร​ สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น รูปหล่อ ของ​กรมหลวง รักนนท์นเรศ อยู่ในชุดแม่ทัพขนาดเท่าองค์จริง​ หอระฆังนี้สร้างเมื่อ​ พ.ศ 2478 เรื่องอุทิศให้​ พระอินทราสาอดีตเจ้าเมืองฉะเชิงเทรา​ เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน​ พ.ศ 2551 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9​ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ยกวัด​ปิตุลาธิราชรังสฤษฎ์​ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี​ โดยมีโบราณสถานและวัตถุ​ คือพระอุโบสถพระวิหารพระปรางค์​ กำแพงรอบพระอุโบสถและวิหาร​ ศาลาการเปรียญหอระฆังพระเจดีย์​ และศาลกรมหลวงรักษ์รณ และกรมศิลปากรเข้ามาบูรณะ​ ปฏิสังขรณ์​ หอไตรรัต วิหาร เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อ พุทธโสธร​ หน้าโบราณ พระพุทธรูปประจำจังหวัด​ หน้าบันพระอุโบสถ​ หน้าบันของศาลาการเปรียญ​ได้มีการทำ​ พระปรมาภิไธย​ ของรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว​ จปร และ​ เป็นวัดที่จัดประเพณีสงกรานต์แบบไทยใส่ชุดไทยย้อนยุค​ มีก่อพระเจดีย์ทราย​ มีรำวงย้อนยุค​ มีของขาย​มากมาย​เช้าก็ทำบุญใส่บาตร​ ฟังเทศน์ฟังธรรม ตามประเพณีนิยม​ ตอน 18:00 นสวดมนต์ทำวัตรเย็น​และ​สามารถ​เข้า​มา​ กราบไหว้​ บูชา​หลวงพ่อพุทธโสธรหน้าโบราณ​ตั่งเเต่​เช้า​ยัน​เย็น​ถึง​ ค่ำได้​ เป็นแลนด์มาร์คของวัด​ปิตุลา​ธิราช​รังสฤษฎ์​ เป็นวัดเก่าแก่และสวยงาม​ พระครูสุตะธรรมาภรณ์​ ลองเจ้าอาวาส​วัด​ปิตุลา​ธิราช​รังสฤษฎ์​วัด​ปิด​20.00​น​ค่ะ​ อ๋อลืมบอกไปว่ามีรอยพระพุทธบาทจำลอง​ หล่อด้อย​ สัมฤทธิ์ ที่สร้างขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ 3 ค่ะ​

Suebsak K.
2021-07-18 03:54:35 GMT

เป็นวัดที่ใหญ่บริเวณบริเวณกว้างขวาง อยู่ใกล้แม่น้ำบางปะกงทางทิศตะวันออก และอยู่ในตัวเมืองฉะเชิงเทรา หรือคนแปดริ้วจะเรียกกันว่าวัดเมือง
วันที่17/7/64 ได้มางานฌาปนกิจคุณแม่เพื่อนเลยไม่ได้เข้ากราบนมัสการพระประธานในโบสถ์ คงเป็นโอกาสต่อไป

Chanin Makarukpinyo
2019-01-20 19:15:10 GMT

เรียกสั้นๆว่า "วัดเมือง" เป็นวัดเก่าแก่ที่มีตำนานเรื่องราวที่น่าสนใจมาก เนื่องจากเคยเป็นที่ประหาร "กบฏอั้งยี่" 3,000 คน ทุกวันนี้จุดที่ประหารกบฏอั้งยี่ก็ยังอยู่ เป็นแท่นประหาร อยู่ใต้ต้นจันใหญ่ระหว่างโบสถ์กับวิหาร กบฏอั้งยี่เคยค้าฝิ่น ฆ่าเจ้าเมือง และยึดหัวเมืองฉะเชิงเทรา แต่ถูกทัพหลวงของ ร.3 เข้าปราบโดยการตัดหัวทั้งหมด เคยพบหลักฐานเมื่อตอนล้างป่าช้าหลังวัด พบโครงกระดูกหัวขาดและโซ่ตรวนอยู่มากมาย

นางสาวแสนสุข ชดเชย
2020-01-29 04:25:40 GMT

ตอนนี้หากผ่านมานมัสการหลวงพ่อพุทธโสธรแล้วแวะมาศาลหลักเมืองต่อเนื่องมาถึงวัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์หรือภาษาที่เรียกติดป่กก็คือ วัดเมืองกันได้นะคะเป็นวัดเก่าแก่ที่เป็นสถาปัตยกรรมที่น่าศึกษา ปัจตุบันได้รับการบูรณะและตกแต่งสถานที่ได้อย่างสวยงามืเดียวผิดแปลกตาไปจากสมัยก่อนมากค่ะ

Sutee Chumpradith
2023-06-11 09:16:17 GMT

ไปประจำทุกๆวันประกอบอาชีพขายขนม/น้ำดื่มให้เด็กนร.

Pornchai Peyasero
2019-08-05 16:57:05 GMT

เป็นวัดพระอารามหลวง มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ ปัจจุบันมีหลวงพ่อเจ้าอาวาสนามว่า พระธรรมปริยัติมุนี (ประยนต์ อจฺจาทโร ป.ธ.๙) ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๑๒ หลวงพ่อได้พัฒนาวัดนี้จากวัดราษฎร์ฯ จนเป็นวัดพระอารามหลวง สาธุๆกราบนมัสการด้วยความเคารพยิ่งครับ

lukhin zaa
2019-01-07 10:18:07 GMT

พระอารามหลวงเก่าแก่มีประวัติความเป็นมายาวนาน สร้างในสมัย รัชกาลที่3

SUREEPORN IACHABOK
2021-12-11 11:36:05 GMT

เป็นวัดพร้อมรร.อนุบาลประจำจังหวัดที่ปปช.ต้องการนำลูกหลานมาเข้าเรียน

Samuth Duangprasert
2021-05-20 13:12:11 GMT

ที่นี่ไม่ใช่พุทธพานิช ดีมากๆและเป็นวัดเก่าแก่ ดีทั้งพระและฆราวาสในวัด

Apichart Sonthisombat
2021-03-24 13:39:08 GMT

ที่จอดรถกว้างขวาง ศาลาสวดศพสะอาดสะอ้าน สวดตรงเวลา

Camera Kit
2020-09-14 15:11:38 GMT

เป็นอารามหลวง สะอาด สงบ สถาปัตยกรรมแบบรัตนโกสินทร์ยุคต้น

Write a review of Wat Pitulathirat Rangsarit


Wat Pitulathirat Rangsarit Directions
About Bang Sao Thong
Municipality in Thailand

Top Rated Addresses in Bang Sao Thong